แนะนำ ของกินสิงคโปร์
ของกินสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่รวมกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่แตกต่างกันไปมากมาย มีทั้งอาหารสไตล์สิงคโปร์, มาเลเซีย, จีน และอินเดียให้เลือกรับประทาน มาลองดูของกินสิงคโปร์ที่แนะนำ ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
Chicken Rice ข้าวมันไก่
ถ้าเห็นไก่ต้มฉ่ำวาวแขวนอยู่เป็นแถวในร้านอาหารข้างทาง แปลว่ากำลังได้พบกับอาหารประจำชาติของสิงคโปร์ นั่นก็คือ ข้าวมันไก่ไห่หนาน
นอกจากย่านขายอาหารข้างทางทั่วประเทศแล้ว สามารถเจอเมนูนี้ในภัตตาคารใหญ่ ๆ และคาเฟ่ในโรงแรม ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันออกไป แต่รูปแบบนั้นจะเป็นอย่างเดียวกันคือ ไก่ชิ้นพอดีคำ หรือเป็นแบบไก่ทั้งตัว หากมารับประทานกันเป็นกลุ่มใหญ่ เซิร์ฟพร้อมข้าวหอมมะลิ และน้ำจิ้มที่มีส่วนประกอบเป็นพริกและขิง
เมนูจานนี้ถูกดัดแปลงมาจากชาวจีนที่อพยพมาในช่วงแรกจากไห่หนาน ชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ที่ไห่หนานชาวบ้านจะเรียกเมนูนี้ว่า ข้าวมันไก่ wenchang ซึ่งจะใช้เฉพาะไก่ที่ผอม และมีกล้ามเนื้อ เซิร์ฟพร้อมกับข้ามมัน และวางพริกเขียวรอบ ๆ จาน
ข้าวมันไก่สไตล์สิงคโปร์
ย้อนไปถึงต้นกำเนิดที่ไห่หนาน เริ่มด้วยการนำไก่ลงไปต้มในน้ำเดือดจนกระทั่งสุก ก่อนนำไปจุ่มในน้ำเย็นเพื่อคงสภาพความนุ่มของเนื้อไก่ ไก่สามารถนำไปย่างหรือเคี่ยวในซอสถั่วเหลืองเพื่อให้รสที่แตกต่างออกไป เมนูจานนี้จะสอดแทรกความเป็นจีนกวางตุ้งอยู่ด้วย โดยการใช้พริกสีแดงรสจัดในน้ำจิ้มและใช้ไก่เนื้อนุ่ม อย่างไรก็ตาม ข้าวและน้ำจิ้มจะเป็นตัวตัดสินว่าข้าวมันไก่จานนั้นอร่อยหรือไม่ ข้าวจะต้องหุงด้วยน้ำซุปไก่ ขิง และใบเตยหอม โดยข้าวจะต้องมีความมันที่พอดี ส่วนน้ำจิ้มจะต้องมีทั้งรสเผ็ดและรสเปรี้ยวที่ลงตัว
ร้านแนะนำ
1. Tian Tian Hainanese Chicken Rice at Maxwell
- Address : 1 Kadayanallur Street, #01-10/11 Maxwell Food Centre
- Phone : (65) 9691 4852
- Opening hours : Tue to Sun: 11:00 – 20:00 (or earlier if sold out)
- GPS : 1.280455, 103.844978
2. Boon Tong Kee Chicken Rice at Balestier
- Address : 399 /401 /403 Balestier Road, Singapore 329801
- Phone : (65) 6254 3937
- Opening hours : Mon – Sat: 11:00 – 16:45, 17:30 – 04:30 Sun: 11:00 – 16:45, 17:30 – 03:00
- GPS : 1.325549, 103.849890
ของกินสิงคโปร์ Chilli Crab ปูผัดซอส

ของกินสิงคโปร์ – Chilli Crab
ปูคือตัวหลักแต่ซอสคือตัวชูโรง ด้วยรสที่หวานและเผ็ดเล็กน้อยจะทำให้ได้รับรสชาติที่น่าพึ่งพอใจอย่างที่สุด รสชาติเหล่านี้จะติดอยู่ทั่วทุกนิ้วในตอนที่แกะปู และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะอดใจไม่ดูดจนเกลี้ยง และต้องลิ้มรสอีกครั้ง ด้วยการจุ่มมันฝรั่งทอดหรือขนมปังนึ่งที่เรียกว่าหมั่นโถวให้ชุ่มซอส รสชาติที่เข้ากันของมะเขือเทศสด ๆ กับซอสพริกจะเข้มขั้นขึ้นด้วยรสชาติของไข่
ปูผัดซอสเป็นการรังสรรค์เมนูที่ดีที่สุดจานหนึ่งของสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นราชาแห่งเมนูปู สามารถหารับประทานได้ตามร้านอาหารซีฟู้ดทั่วไป โดยมักจะใช้ปูทะเลในการประกอบเมนูจานนี้ เนื่องจากมีเนื้อที่หวานและฉ่ำ
กำเนิดเมนูปู
อาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกนี้เริ่มต้นมาจากร้านรถเข็นในปี 1956 โดยสองสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีได้ลองขอให้ภรรยาปรุงปูด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพียงแค่นึ่งอย่างเดียว
ความพยายามแรกของนาง Cher Yam Tian คือการผัดปูกับซอสมะเขือเทศ และคิดว่ารสชาติจะถูกปากมากขึ้นหากใส่พริกลงไปด้วย พวกเขาขายปูผัดซอสนี้ไปตามแม่น้ำ Kallang จนกระทั่งมีชื่อเสียงมากขึ้น จึงได้เปิดร้านอาหารที่มีชื่อว่า Palm Beach
ภายหลังเชฟชื่อดังที่เปิดร้านอาหาร Dragon Phoenix ได้ปรับเปลี่ยนเมนูจานนี้ด้วยการใช้ซัมบัล ซอสมะเขือเทศ และไข่ในการทำน้ำราดแทนการใช้ซอสพริก และมะเขือเทศแบบขวด ซึ่งกลายมาเป็นรูปแบบที่หาทานได้ทั่วไปในสิงคโปร์
ร้านแนะนำ
1. Long Beach Seafood Restaurant
- Address : 1018 East Coast Parkway, Next to ECP Burger King
- Phone : (65) 6445 8833
- Opening hours : Daily : 11am – 3pm / 5pm – 12.15am Sat & Eves of PH : Till 1.15am
- GPS : 1.302517, 103.916308
2. No Signboard Seafood Restaurant
- Address : 414 Geylang, Singapore 389392
- Phone : (65) 6842 3415
- Opening hours : Daily 12:00 – 01:00
- GPS : 1.313003, 103.883223
ของกินสิงคโปร์ Fish Head Curry แกงหัวปลา

ของกินสิงคโปร์ – Fish Head Curry
แกงหัวปลาเป็นเมนูที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิงคโปร์ เปรียบเสมือนหม้อที่รวมเอาวัฒนธรรมหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยส่วนผสมที่มีทั้งเครื่องเทศของอินเดียใต้ และหัวปลาที่เป็นอาหารหรูของชาวจีน ทุก ๆ เชื้อชาติที่นี่จะมีรูปแบบเมนูจานนี้ที่แตกต่างกันออกไป ด้วยการปรับเปลี่ยนเครื่องแกงเล็กน้อย บางที่จะใส่น้ำมะขามเพื่อให้อมรสเปรี้ยว ส่วนบางที่จะใส่กะทิเพื่อให้ความข้นมัน แต่สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันคือหัวปลากระพงแดงตัวอ้วนอยู่ในน้ำเกรวี่รสจัดพร้อมผักเคียงอย่างกระเจี๊ยบเขียว และมะเขือยาว
จุดเริ่มต้นเมนูหัวปลา
แกงหัวปลาถูกคิดค้นขึ้นในห้องครัวของร้านอาหารอินเดียเล็กๆ ในปี 1960 หัวปลานั้นไม่ใช่วัตถุดิบของอินเดีย แต่ใช้เพื่อตอบรับความต้องการของลูกค้าชาวจีน เจ้าของร้านอาหารจากอินเดียใต้ รัฐเกรละได้ผสมผสานเแกงอินเดียเข้ากับหัวปลาที่ชาวจีนชื่นชอบ
ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก ในปัจจบันเมนูแกงหัวปลานี้อยู่บนเมนูทั้งในร้านอาหารอินเดีย จีน มาเลย์ และเปอรานากัน โดยมักจะเซิร์ฟมาในหม้อดินขณะที่ยังเดือดปุด ๆ อยู่ ผู้ที่ชื่นชอบปลาจะต้องบอกว่าแก้มคือเนื้อที่ดีที่สุด และตาคืออาหารอันล้ำค่า
ร้านแนะนำ
1. Ocean Curry Fish Head
- Address : Blk 92 Toa Payoh Lorong 4 #01-264, 310092, (Toa Payoh)
- Phone : (65) 6262 2168
- Opening hours : Mon to Sun: 1100 – 2100
- GPS : 1.338015, 103.850112
2. Muthu’s Curry
- Address : 138 Race Course Road #01-01, 218591, (Little India Tekka Serangoon Road)
- Phone : –
- Opening hours : Mon to Sun: 1030 – 2230
- GPS : 1.310101, 103.852647
Fried Carrot Cake ผัดเค้ก แครอท
อย่าสับสนกับเค้กแครอทที่เป็นเค้กหน้านิ่มทำจากแครอท และเครื่องเทศแล้วแต่งหน้าด้วยครีม เพราะเค้กแครอทนี้ไม่มีแครอท ไม่มีแม้กระทั่งส่วนประกอบที่เป็นสีส้ม แต่ส่วนประกอบหลักของเค้กนี้คือแป้งข้าว และหัวไชเท้าที่บางคนอาจจะเรียกว่าแครอทขาว ส่วนผสมทั้งหมดจะถูกต้ม และหั่นเป็นทรงลูกเต๋าก่อนนำไปผัดกับกระเทียม ไข่ และหัวไชเท้าดองหรือที่เรียกว่าไชโป้ว
ในภาษาจีนแต้จิ๋วจะเรียกว่า ‘chai tow kway’ ซึ่งเค้กข้าวผัดนุ่ม ๆ นี้ก็สามารถหาทานได้ตามย่านขายอาหารทั่วไป โดยมีทั้งเซิร์ฟแบบดำ (ผัดกับซีอิ๊วดำ) หรือแบบขาว (ต้นตำรับ)
เค้กข้าวจีน
เมนูธรรมดาๆ จานนี้มีต้นกำเนิดมาจากจังหวัด Chaoshan ทางตอนใต้ของประเทศจีน ที่นั่นจะรู้จักกันในชื่อ ‘chao gao guo’ (ผัดเค้กแป้ง) ที่มีวัตถุดิบหลักคือแป้งข้าว เค้กข้าวจะหมักด้วยน้ำปลาและซีอิ๊วดำจนเข้าเนื้อก่อนจะนำไปผัดกับไข่ หอยนางรม และกุ้ง
เมนูนี้ถูกนำมาที่สิงคโปร์โดยชาวจีนแต้จิ๋ว โดยรู้จักมันในชื่อ ‘char kway’ (ผัดเค้กข้าว) – เค้กข้าวหั่นเป็นลูกเต๋าผัดกับซีอิ๋วดำ
ในปี 1960 แม่ค้าชาวแต้จิ๋วชื่อ Ng Soik Theng อ้างว่าเธอเป็นคนแรกที่เรียกเมนูจานนี้ว่า ‘chai tow kway’ เมื่อเธอได้เริ่มใส่หัวไชเท้าลงไปด้วย และแม่ค้าอีกคนหนึ่งที่ชื่อ Lau Goh เป็นคนที่ทำให้เมนูรูปแบบนี้มีชื่อเสียงมากยิ่งขึ้น
ร้านแนะนำ
1. Fu Ming Carrot Cake
- Address : Blk 85 Redhill Lane #01-49 Redhill Food Centre Singapore 150085
- Phone : (65) 9641 0565, 6475 8653
- Opening hours : Mon-Sat 3pm-1am, Sun 6am-1am, closed thu
- GPS : 1.287414, 103.818741
2. Ghim Moh Carrot Cake
- Address : 6 Jalan Bukit Merah, ABC Brickworks #01-140 Singapore 150006
- Phone : –
- Opening hours : Early morning-9pm, closed Mon
- GPS : 1.311092, 103.787842
Hokkien Prawm Mee ผัดหมี่กุ้ง ฮกเกี้ยน
ฮกเกี้ยนหมี่ (เส้นก๋วยเตี๋ยว) เมนูหมี่ผัดจานนี้จะแช่มาในน้ำซุปหอม ๆ ที่ทำจากกระดูกหมู และหัวกุ้ง หมี่รสชาติติดปากจานนี้มีส่วนประกอบเป็นหมี่เหลือง และหมี่หุ้ง (เส้นหมี่ขาว) กุ้ง ปลาหมึก หมูสามชั้น ไข่ กากหมูที่ทำให้รสชาติทุกอย่างดีขึ้นสุด ๆ เซิร์ฟพร้อมกับซัมบัล และบีบน้ำมะนาวลงไปเพื่อรสที่จัดจ้านมากขึ้น อย่างที่ชื่อบอกไว้ ผัดหมี่กุ้งฮกเกี้ยนเป็นเมนูที่คิดค้นขึ้นโดยชาวฮกเกี้ยน แต่ต้นกำเนิดนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก
ตามรอยประวัติศาสตร์ฮกเกี้ยน
บางคนกล่าวว่าแรกเริ่มเดิมทีมันถูกเรียกว่าหมี่โรเชอร์เพราะมีขายครั้งแรกที่ถนนโรเชอร์ ทหารเรือชาวฮกเกี้ยนที่ทำงานในโรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยวในยุคหลังสงครามสิงคโปร์จะมามารวมตัวกันที่ถนนโรเชอร์ในตอนเย็นเพื่อผัดเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เหลือจากโรงงานบนเตาถ่าน ในขณะที่คนอื่น ๆ เสนอว่าร้านอาหารข้างโรงแรม 7 ชั้นใกล้กับถนนโรเชอร์เป็นคนคิดค้นเมนูนี้
แต่บางคนมองว่าหมี่โรเชอร์เป็นเมนูที่แปลงมาจากชาวเปอรานากันที่มีน้ำเกรวี่มากกว่าและชูรสด้วยซัมบัลที่ถือเป็นรูปแบบในปัจจุบัน ผัดหมี่ฮกเกี้ยนแบบต้นตำรับนั้นจะผัดจนแห้ง และกินคู่กับพริกแดงซอย แต่จะความเชื่อไหนก็ไม่สำคัญ ที่สำคัญคือต้องรู้ไว้ว่าสามารถหาผัดหมี่ฮกเกี้ยนทานได้ที่ย่านการค้า และก็อร่อยมากเลยทีเดียว
ร้านแนะนำ
1. Come Daily Fried Hokkien Prawn Mee
- Address : #02-27, Blk 127, Toa Payoh Lor 1 Singapore 310127
- Phone : (65) 6251 8542
- Opening hours : Tuesday – Sunday: 09:30 – 18:00 Closed on Mondays
- GPS : 1.338063, 103.845271
2. Nam Sing Hokkien Fried Mee
- Address : Old Airport Road Food Centre #01-32 51 Old Airport Road, Singapore 390051
- Phone : (65) 6440 5340
- Opening hours : Daily: 07:00 till sold out (Closed on random days)
- GPS : 1.308344, 103.885593
Kaya Toast คายา โทสต์
เป็นขนมที่มีรสชาติเข้ากันได้ดีกับ ‘kopi’ (กาแฟ) หรือ ‘teh’ (ชา) เป็นขนมปังแผ่นย่างบนเตาถ่านหรือปิ้งแล้วทาด้วยเนยแข็ง และสังขยา บางคนก็กินแซนวิชโทสต์นี้เป็นมื้อเช้า บ้างก็กินกับชา โดยปกติโทสต์นี้จะกินคู่กับไข่ต้มยางมะตูมสองฟองเยาะด้วยซีอิ๊วดำ และพริกไทย รสเผ็ดหน่อย ๆ ของไข่จะช่วยเติมเต็มรสชาติหวาน ๆ ของคายาโทสต์ที่กรอบน่าทาน สังขยาที่ละลายในปาก และเนยหอมมัน
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโทสต์
ขนมจานนี้คิดค้นโดยชาวไห่หนานอย่างผู้ก่อตั้งร้าน Ya Kun Kaya และ ร้าน Kheng Hoe Heng Coffeeshop ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นร้าน Killiney Kopitiam
Ya Kun คือร้านกาแฟเล็ก ๆ ในปี 1944 เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับขนมปังแผ่นบางกรอบ และสังขยารสเลิศ ส่วนร้าน Kheng Hoe Heng ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1919 เป็นร้านกาแฟที่เก่าแก่ที่สุดในสิงคโปร์ มีชื่อเสียงในเรื่องขนมปังขาวปิ้งสังขยา ภายหลังถูกซื้อต่อไปโดยลูกค้าคนหนึ่งในปี 1993 และเปลี่ยนชื่อร้านเป็น Killiney Kopitiam
แต่กลับเป็นช่วงหลังปี 2000 ที่คายาโทสต์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในสิงคโปร์ เนื่องจาก Ya Kun และ Killiney ได้ขยายสาขาไปยังห้างต่าง ๆ ตั้งแต่นั้นมาก็มีร้านกาแฟหลายแห่งที่นำคายาโทสต์มาขายด้วย
ร้านแนะนำ
1. Ya Kun Kaya Toast
- Address : 18 China Street, Far East Square #01-01, Singapore 049560
- Phone : (65) 64383638
- Opening hours : Mon to Fri 07:30 – 18:30 Sat & Sun 08:30 – 17:00
- GPS : 1.283616, 103.848875
2. Killiney Kopitiam
- Address : 67 Killiney Road Singapore 239525
- Phone : (65) 6734 9648 / 6734 3910
- Opening hours : Mon, Wed to Sat: 06:00 – 23:00 Tues, Sun & PH: 06:00 – 18:00
- GPS : 1.298847, 103.839799
Laksa ลักซา

ของกินสิงคโปร์ – Laksa
ลักซาในสิงคโปร์นั้นมีหลายรูปแบบตั้งแต่ลักซามะขามของปีนังไปจนถึงลักซาแกงของซาราวัก แต่ก็ไม่มีลักซาแบบไหนมีชื่อเสียงเท่าลักซากาตง
ลักซากาตงนั้นทำขึ้นโดยชาวเปอรานากัน (Straits Chinese) ที่อาศัยอยู่ย่านกาตง ลักซามีน้ำซุปรสเผ็ดสีแดงเหมือนตอนพระอาทิตย์ตกดิน ปรุงรสด้วยกะทิ และกุ้งแห้ง แล้วใส่หอยแครง กุ้ง และลูกชิ้นปลา
ลักษณะหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ก็คือเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ขาวหนา ๆ ที่ตัดให้สั้นเพื่อง่ายต่อการกินด้วยช้อน ในบางร้านอาจจะได้แค่ช้อนในการกินลักซา เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ตะเกียบเลย
รสชาตินี้เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากจึงทำให้ลักซากาตงได้เดินทางไปยังด้านตะวันออกเพื่อเข้าถึงทุกพื้นที่ของสิงคโปร์ เนื่องจากให้สิทธิร้านขายลักซาต่าง ๆ สามารถเลียนแบบรสชาติได้
การแย่งพื้นที่
ตลอดหลายปี หลายคนสับสนว่าลักซาแท้ ๆ นั้นเป็นแบบไหนกันแน่ เนื่องจากทุกร้านในกาตงก็ต่างอ้างว่าลักซาของตนเองคือลักซาแบบต้นฉบับ
มีลักซาที่มีชื่อเสียงรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า ‘janggut’ โดยตั้งชื่อตามพ่อค้าที่มีขนขึ้นที่ไฝใต้คาง จึงทำให้เขาถูกเรียกว่า ‘janggut’ ที่แปลว่าเคราในภาษามาเลย์ ร้านนี้บริหารโดยครอบครัวของเขา ซึ่งปัจจุบันเปิดอยู่ที่ Queensway Shopping Centre
นอกจากนี้ยังมีร้านขายลักซาอื่น ๆ ตามย่านซาตงที่ขายลักซารสชาติแบบเดียวกันที่กลายมาเป็นลักซาแบบสิงคโปร์ ความแตกต่างคือลักซาแบบปกตินั้นจะต้องใช้ตะเกียบในการกินเส้น
ร้านแนะนำ
1. 328 Katong Laksa
- Address : 328 Katong Laksa 51 East Coast Road Singapore 428770
- Phone : (65) 9732 8163
- Opening hours : Daily: 10:00 – 22:00
- GPS : 1.304997, 103.905612
2. Depot Road Zhen Shan Mei Claypot Laksa
- Address : Blk 120 Bukit Merah Lane 1, #01-75 Alexandra Village, Singapore 150119
- Phone : (65) 9088 9203
- Opening hours : Daily: 08:30 – 15:30
- GPS : 1.290656, 103.825739
ของกินสิงคโปร์ Nasi Lemak นาซิ เลอมั๊ก

ของกินสิงคโปร์ – Nasi Lemak
เมื่อแปลคำว่า ‘nasi lemak’ จากภาษามาเลย์เป็นภาษาอังกฤษ จะได้คำว่า ‘rich rice’ แต่คำว่า ‘rich’ นี้ไม่ได้หมายถึงฐานะแต่เป็นกะทิที่ทำให้มันมีรสชาติที่น่าหลงใหล
เมนูนี้เป็นการผสมผสานรสชาติที่สมบูรณ์แบบที่สุด ข้าวหอมหุงด้วยกะทิ และใบเตย รับประทานคู่กับปลาทอด หรือปีกไก่ทอด โอตะก์ (ห่อหมกย่าง) ikan bilisทอด (ปลาแอนโชวี่ท้องถิ่น) และถั่วลิสง ไข่ แตงกวาซอย และซัมบัล (ซอสพริก)
นาซิ เลอมั๊กเป็นเมนูมื้อหลักที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวมาเลย์ รวมถึงชาติอื่น ๆ ที่มีนาซิ เลอมั๊กในรูปแบบของตัวเอง ข้าวจะเป็นในลักษณะเดียวกันแม้ว่าบางรูปแบบอาจเป็นสีเขียวที่มาจากใบเตย แต่ก็คือหนึ่งในเครื่องเคียงที่จะวางแยกกัน
ในแบบของชาวจีน อาจจะมีเครื่องเคียงตั้งแต่น่องไก่ทอด ไส้กรอกไก่ ทอดมันปลา จนไปถึงแกงผัก และ luncheon meat
ร้านแนะนำ
1. Boon Lay Power Nasi Lemak
- Address : Boon Lay Place Food Village, 221A/B Boon Lay Place #01-106, 642221, (Boon Lay)
- Phone : –
- Opening hours : Mon: 1800 – 0400 Tue to Sun: 0600 – 1500, 1800 – 0400
- GPS : 1.345775, 103.713746
2. Latiffa Huri
- Address : Blk 498 Jurong West Street 52, 648325, (Jurong East)
- Phone : –
- Opening hours : Mon to Sun: 0530 – 1500
- GPS : 1.347023, 103.718370
Rojak โรจั๊ก
โรจั๊กแปลว่า “การผสมผสานที่หลากหลาย” ซึ่งเป็นภาษาพูดของมาเลย์ และแน่นอนว่าเมนูนี้ก็เป็นไปตามชื่อของมัน ส่วนผสมนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสิงคโปร์ ด้วยการนำวัตถุดิบที่มีรสชาติโดดเด่น และแตกต่างกันมารวมกันจนเกิดรสชาติใหม่ที่ลงตัว มันคือสลัดที่รวมเอาทั้งผัก ผลไม้ และปาท่องโก๋แล้วราดด้วยน้ำซอสข้นสีดำ โรยหน้าด้วยถั่วลิสงสับ และดอกขิงหั่นชิ้นงามเพื่อเพิ่มรสเผ็ดเล็กน้อย
สิ่งที่เป็นตัวกำหนดโรจั๊กที่อร่อยก็คือ ซอสที่ทำมาจากกกะปิ น้ำตาล น้ำมะนาว และน้ำพริก ให้ได้รสชาติเที่มีทั้งหวาน เปรี้ยว และเผ็ด
ซอสนั้นเป็นการผสมแบบดั่งเดิมในชามไม้โดยช้อนไม้ เมื่อซอสเสร็จแล้วจึงจะใส่วัตถุอื่น ๆ ลงไปจากนั้นก็คลุกให้เข้ากัน
วัตถุดิบก็มีผักบุ้ง ถั่วงอก แตงกวา หัวผักกาด ผลไม้รสเปรี้ยวเช่น สับปะรด มะม่วงดิบ ชมพู่ดิบ ปาท่องโก๋ และเต้าหู้ปิ้ง
ประวัติของโรจั๊ก
ไม่มีใครทราบต้นกำเนิดที่แน่ชัดของโรจั๊กเนื่องจากมีอยู่หลายรูปแบบในแถบเอเชีย ซึ่งรวมถึงกาโด-กาโดของประเทศอินโดนีเซียที่ทำจากเค้กข้าว และผักแล้วราดด้วยซอสถั่วลิสง จนถึงโรจั๊กของอินเดียที่ซอสถั่วลิสงมีสีส้ม และใช้จิ้มส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นแป้งโดทอด มันฝรั่ง และปลาหมึกนึ่ง
โดยปกติโรจั๊กจะขายโดยชาวจีน จนถึงปี1920 ก็ยังสามารถพบเห็นคนขายโรจั๊กอยู่ โดยมักจะทำอย่างผิดกฎหมายคือการไปยังระแวกใกล้เคียงด้วยจักรยาน ในปัจจุบันจะเห็นคนขายโรจั๊กอยู่ตามย่านขายอาหารในเมือง
ร้านแนะนำ
1. Balestier Road Hoover Rojak
- Address : Whampoa Wet Market & Food Centre, 90 Whampoa Dr, Singapore 320090
- Phone : +65 6253 0137
- Opening hours : Wed to Sun: 10:30–16:00 Close : Mon – Tue
- GPS : 1.322862, 103.855269
2. Soon Heng Rojak
- Address : HDB Hub Gourmet Paradise, 480 Lorong 6 Toa Payoh #B1-01 HDB Hub, Singapore 310480 Read
- Phone : –
- Opening hours : Daily, 11:00 – 20:00 (Closed once a month)
- GPS : 1.332355, 103.848790
ของกินสิงคโปร์ Roti Prata โรตี พราตา

ของกินสิงคโปร์ – Roti Prata
กรอบนอก นุ่มใน ทำให้โรตีพราตาเป็นที่ถูกปากในทุก ๆ ครั้งที่ได้ลิ้มลอง ขนมปังแบน ๆ ฉบับอินเดียใต้นี้ทำด้วยแป้งโดที่นวดจนแบนแล้วปรุงรสด้วยกี (เนยใสของอินเดีย) มักทานคู่กับแกงปลาหรือแกงแกะ
โรตีมีความหมายว่า “ขนมปัง” และพราตาหรือพาราตาแปลว่า “แบน” ในภาษาฮินดู บางคนเชื่อว่าเมนูนี้พัฒนามาจากเมนูแพนเค้กที่มีต้นกำเนิดจากรัฐปัญจาบในอินเดีย แต่หากข้ามไปยังมาเลเซีย ขนมปังแบนนี้จะเรียกว่า โรตีคาไน ซึ่งทำให้บางคนบอกว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากนครเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย
แต่ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด โรตีพราตาก็เป็นเมนูที่ชื่นชอบในทุก ๆ เวลา ในแบบต้นตำรับจะมีแค่แป้งเปล่า ๆ หรือใส่ไข่ แต่ในปัจจุบันจะใส่เครื่องที่หลากหลายลงไป เช่น ชีส ช็อกโกแลต ไอศครีม หรือแม้กระทั่งทุเรียน จากเมนูจานหลักจึงกลายมาเป็นของหวาน
แป้งโดที่แตกต่าง
ท่ามกลางร้านขายพราตาในสิงคโปร์ที่หลายๆ ร้านเปิดจนดึกดื่น มีแป้งโดที่ให้สัมผัสแตกต่างกันไปอยู่ ตั้งแต่เหนียวนุ่ม จนไปถึงกรอบแบบสุด ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในระดับกลาง ๆ ของความกรอบ และนุ่มฟู
ส่วนที่ยากที่สุดในการทำแป้งโดคือการนวดแป้ง ลองดูได้จากคนขายพราตาตอนที่เขาตบแป้งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็วจนกระทั่งบางเป็นแผ่นกระดาษ และขยายใหญ่กว่าเดิม 4-5 เท่า และหลังจากที่เขาพับแป้งเป็นสี่เหลี่ยมแล้ว เขาก็จะทอดด้วยน้ำมันเล็กน้อยบนกระทะทรงแบน
ร้านแนะนำ
1. Sin Ming Roti Prata
- Address : #01-51, Jin Fa Kopitiam, 24 Sin Ming Road, 570024
- Phone : (65) 64533893
- Opening hours : Daily: 06:00 – 19:00
- GPS : 1.355384, 103.837305
2. Mr and Mrs Mohgan’s Super Crispy Roti Prata
- Address : Poh Ho Restaurant, 7 Crane Road, 429356
- Phone : (65) 97943124
- Opening hours : Thu – Mon: 06:30 – 13:30 Closed: Tue, Wed
- GPS : 1.312558, 103.899677
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.yoursingapore.com
Leave A Comment